เมนู

ไม่ใช่ยึดเอาความเป็นพระอริยะเป็นอารมณ์ อนึ่ง แม้สุนัขบ้าน สุนัข
จิ้งจอกเป็นต้น ย่อมเห็นพระอริยะทั้งหลายด้วยจักษุ แต่ว่า สุนัขบ้าน
เป็นต้นเหล่านั้นจะชื่อว่าได้เห็นพระอริยะทั้งหลายหามิได้. ในข้อนี้ มี
เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์

อยู่กับพระอริยะ แต่ไม่รู้จักพระอริยะ


ดังได้สดับมา อุปัฏฐากของพระเถระผู้ขีณาสพ ผู้อยู่ในจิตตลดา-
บรรพต
บวชเมื่อแก่ อยู่มาวันหนึ่ง เที่ยวไปบิณฑบาตกับพระเถระ
รับเอาบาตรจีวรของพระเถระเดินตามหลังมา ถามพระเถระว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ บุคคลเช่นไรชื่อว่า พระอริยะ พระเถระตอบว่า บุคคล
บางคนในโลกนี้ เป็นคนแก่ รับเอาบาตรและจีวรของพระเถระ ทำวัตร
ปฏิบัติแม้เที่ยวไปกับพระอริยะ ก็ย่อมไม่รู้จักพระอริยะ โยม พระอริยะ
ทั้งหลาย รู้ได้ยากอย่างนี้ ดังนี้. เมื่อพระเถระแม้พูดอย่างนี้ อุปัฏฐาก
นั้น ก็ยังหารู้ไม่.
เพราะฉะนั้น การเห็นด้วยจักษุ ไม่ชื่อว่าเห็น การเห็นด้วย
ญาณเท่านั้น ชื่อว่าเห็น. สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ
ประโยชน์อะไรด้วยกายอันเปื่อยเน่านี้ อันเธอเห็นแล้ว, ดูก่อนวักกลิ
ผู้ใดแล เห็นพระธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเราตถาคต ดังนี้.
เพราะฉะนั้น บุคคลแม้เห็นอยู่ (ซึ่งพระอริยะ) ด้วยจักษุ แต่
ไม่เห็นอนิจจลักษณะ เป็นต้น ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นแล้วด้วยญาณ
และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยเจ้าบรรลุแล้ว พึงทราบ ไม่เห็นพระ
อริยเจ้าทั้งหลาย เพราะธรรมที่ทำให้พระอริยะ และความเป็นพระอริยะ

อันบุคคลนั้นยังไม่เห็น ดังนี้.
สองบทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ความว่า ไม่ฉลาดในอริย-
ธรรมอันแยกออกเป็นสติปัฏฐาน เป็นต้น.
ก็ชื่อว่า วินัย มี 2 อย่าง แต่ละอย่างในแต่ละ
ประเภท มี 5 เพราะความไม่มีวินัยทั้ง 2 นั้น อัน
นี้ท่านเรียกว่า อวินีต ในคำว่า อริยธมฺเม อวินีโต
นี้.

วินัย 2 อย่าง


จริงอยู่วินัยนี้มี 2 อย่าง คือ สังวรวินัย 1 ปหานวินัย 1. เละวินัย
แต่ละอย่าง ในวินัยแม้ทั้ง 2 นี้ แยกออกเป็น 5. จริงอยู่ แม้สังวร-
วินัยมี 5 คือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร เละวิริย-
สังวร. แม้ปหานสังวร ก็มี 5 อย่างเหมือนกัน คือ ตทังคปหาน
วิกขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน และนิลสรณปหาน.
สังวรวินัยทั้ง 5 นั้น สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุเข้าถึงด้วยปาฏิโมกข์-
สังวรนี้
นี้เรียกว่า สีลสังวร.
สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ คือ ถึงการ
สำรวมในจักขุนทรีย์
นี้เรียกว่า สติสังวร.
สังวรที่ตรัสไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอชิตะ กระแส
(ตัณหา) เหล่าใด ในโลกมีอยู่ สติย่อมเป็นเครื่อง
ห้ามกระแสเหล่านั้น เราตถาคตกล่าวสติว่าเป็น